serac

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

นักโบราณคดีค้นพบเมืองอิรอม


🏫นักโบราณคดีค้นพบเมืองอิรอม
เมื่อต้นปี ค.ศ.1990 หนังสือพิมพ์ชื่อดังฉบับหนึ่งได้ตีพิมพ์เรื่องการค้นพบเมืองอาหรับที่สาบสูญ หรือ อุบัร แอตแลนติสแห่งทะเลทราย สิ่งจูงใจให้นักโบราณคดีค้นหาเมืองนี้คือเรื่องราวที่กล่าวไว้ในอัลอัลกุ รอานนั่นเอง เรื่องราวของชาวอ๊าดและที่อยู่ของพวกเขาที่อัลกุรอานกล่าวถึงนั้นยังไม่มี การระบุสถานที่ที่แน่นอน การค้นพบสถานที่ดังกล่าวซึ่งเคยเป็นเพียงเรื่องเล่าของชาวเบดูอินเท่านั้น ทำให้การค้นหาสถานที่นี้เป็นสิ่งที่ท้าท้ายและน่าสนใจ

นิโคลัส  แคลพ นักโบราณคดี เป็นผู้ที่ค้นพบดินแดนในตำนานที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน แคลพเป็นผู้สนใจศาสนาเกี่ยวกับอาหรับและเป็นผู้ทำสารคดีที่ได้รับรางวัล เขาพบหนังสือประวัติศาสตร์อาหรับที่น่าสนใจโดยบังเอิญขณะที่เขาค้นคว้า 

เรื่องประวัติศาสตร์อาหรับ หนังสือเล่มนี้ชื่อ Arabia Felix เขียน ในปี 1932 โดย เบอแทรม โทมัส นักค้นคว้าชาวอังกฤษ โดยบรรยายเกี่ยวกับคาบสมุทรอาหรับตอนใต้ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเยเมนและโอมาน ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษากรีกว่า“Eudiamon Arabia”และในภาษาอาหรับเรียกว่า “อัลเยเมน แอสไซดะ” ชื่อดังกล่าวนั้นหมายถึง “ชาวอาหรับที่มีโชค” เพราะ ว่ากลุ่มชนที่อาศัยอยู่ดินแดนนี้ในเวลานั้นเป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขาย เครื่องเทศระหว่างคาบสมุทรอาหรับตอนเหนือ
กับอินเดีย 

นอกจากนี้ยังสามารถผลิตยางหอมจากไม้หายากซึ่งเป็นสิ่งที่นิยมใช้ในอดีต ไม้หอมนี้ใช้เป็นเครื่องหอมในพิธีทางศาสนาอีกด้วย ไม้หอมนี้มีค่าเทียบเท่าทองคำในสมัยนั้น

เบอแทรม โทมัส นักค้นคว้าชาวอังกฤษที่บรรยายความโชคดีของชนกลุ่มนี้ กล่าว ว่า เขาพบร่องรอยของเมืองโบราณนี้ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวเบดูอินในชื่อว่า อูบาร์ ในการเดินทางไปยังดินแดนนี้ ชาวเบดูอินที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายได้พาเขาไปดูเส้นทางที่ไปยังเมือง อูบาร์ แต่ เบอแทรม โทมัส ก็เสียชีวิตลงก่อนที่เขาจะศึกษาสำเร็จ

หลังจากที่ นิโคลัส  แคลพ ศึกษารายงานที่ เบอแทรม โทมัส เขียนก็มีความเชื่อมั่นในเรื่องดังกล่าวและการค้นหาของเขาก็เริ่มต้นขึ้น นิโคลัส  แคลพ พยายามที่จะพิสูจน์เมือง อูบาร์ โดยใช้ 2 วิธีคือ วิธีแรกเขาหาร่องรอยเส้นทางที่ชาวเบดูอินกล่าวถึงโดยใช้ดาวเทียมขององค์การ NASA ถ่ายรูปบริเวณดังกล่าว หลังจากความพยายามอย่างหนักเขาก็สามารถโน้มน้าวผู้ที่มีอำนาจให้ถ่ายภาพบริเวณนั้นมาได้

วิธีที่สองนิโคลัส  แคลพ ศึกษาแผนที่โบราณที่ห้องสมุดฮินติงตั้นในแคริฟอร์เนีย และเขาก็พบแผนที่ที่วาดโดย ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก-อิยิปต์ ซึ่งเขียนไว้ใน ค.ศ.200 ซึ่งแผนที่นี้แสดงตำแหน่งและเส้นทางที่จะนาไปสู่เมืองนี้ในขณะเดียวกัน นิโคลัส  แคลพ ก็ได้รับภาพถ่ายจากองค์การ NASA ซึ่งสามารถ เห็นร่องรอยของเส้นทางที่คาดว่ากองคาราวานจะใช้ในการเดินทาง เมื่อเปรียบเทียบกับแผนโบราณที่ที่ปโตเลมีเขียนแล้วก็เข้ากันได้กับภาพที่ ได้จากดาวเทียม และปลายทางของเส้นทางนี้จะนำไปสู่เมืองที่ค้นหาอยู่ ในที่สุดเราก็รู้ตำแหน่งของเมืองในตำนานแห่งนี้และการขุดค้นก็เริ่มขึ้นใน เวลาไม่นานเมืองโบราณที่อยู่ใต้ผืนทรายก็ถูกค้นพบและขนานนามว่า “แอตแลนติสแห่งทะเลทราย”

แล้วจะพิสูจน์ได้อย่างไรว่าเป็นเมืองของชาวอ๊าดที่ถูกกล่าว ถึงในอัลกุรอานจริง  สิ่งที่เป็นหลักฐานก็คือการค้นพบหอคอยหรืออาคารสูงหลายแห่งซึ่งในอัลกุ รอานกล่าวไว้อย่างเจาะจงว่าเมืองอิรอมมีหอคอยหรืออาคารสูง 

ดร.ซารินหนึ่งในคณะค้นหาเมืองนี้กล่าวว่าหอคอยเป็นลักษณะเด่นของเมืองอูบา และเมืองอิรอมก็ได้รับการกล่าวกันว่ามีหอคอย นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าสถานที่ที่ถูกขุดค้นพบนี้คือเมืองอิรอม เมืองของชาวอ๊าดที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน
อัลกุรอานกล่าวถึงเมืองอิรอมว่า

“เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าพระเจ้าของเจ้ากระทำต่อพวกอ๊าดอย่างไรอิรอมพวกมีเสาหินสูงตระหง่าน ซึ่งเยี่ยงนั้นมิได้ถูกสร้างตามหัวเมืองต่างๆ”

ซูเราะห์อัลฟัจรฺ อายะห์ที่ 6-8
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสิ่งที่บอกไว้ในอัลกุรอานเกี่ยวกับ เหตุการณ์ในอดีตเป็นการยืนยันข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเป็นเรื่องจริงนั่น คืออัลกุรอานพระพจนารถของอัลลอฮ์

รายการบล็อกของฉัน