serac

Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Wikipedia

ผลการค้นหา

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Petra นครหิน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Petra นครหิน แสดงบทความทั้งหมด

Petra นครหิน หุบเขาวาดี มูซา

Petra นครหิน หุบเขาวาดี มูซา
นครเปตรา คือนครหินแกะสลักโบราณในหุบเขาวาดี มูซา ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเดดซีกับอ่าวอะกาบาในประเทศจอร์แดน เดิมเป็นนครการค้าขนาดใหญ่ โดยชนกลุ่มแรกที่เดินทางเข้ามาสู่เปตราคือ เอโดไมต์ ซึ่งเข้ามาราวปี 1000 ปีก่อนคริสตกาล แต่ชนชาติที่สร้างเมือง ชาวนาบาเทียน (Nabataeans) ในช่วงศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล พวกเขาเข้ามาสกัดผาหินทรายเป็นบ้านเรือนและอาศัยอยู่ในถ้ำที่มีอยู่ทั่วเมือง ซึ่งแต่เดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนในทะเลทรายอาหรับ  มีอาชีพเป็นคนเลี้ยงแกะ แต่เปลี่ยนมาค้าขายและรับจ้างเป็นยามรักษาความปลอดภัยให้แก่กองคาราวาน ชนเผ่านี้ขึ้นชื่อว่ามีความซื่อสัตย์ โดยชาวเปตรานับถือเทพเจ้าสององค์คือ เทพดูซาเรส (Dushares) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์
และเทพอัลอัซซา (Al Uzza) ชายาของเทพดูซาเรส เทวีแห่งน้ำ

เปตราเป็นศูนย์กลางค้าขนาดใหญ่ ทำให้มีผู้คนสัญจรไปมาจนเกิดเป็นเรื่องเล่าจากนักเดินทางชาวกรีกถึงความมั่งคั่งมั่นคงทางการค้า ตามบันทึกของสตราโบ นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกได้อธิบายไว้ว่า เมืองเปตราเป็นตลาดซื้อสินค้าสำคัญที่สุดของโลกตะวันออก มียางไม้หอม กำยาน เครื่องเทศของชาวอาหรับ ทองแดง เหล็ก เครื่องปั้นดินเผา รูปปั้น ผ้าย้อมของชาวฟินิเซียนล้วนถูกลำเลียงผ่านเมืองเปตราไปสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และชาวเปอร์เซีย

มีเส้นทางการค้าสายตะวันออก – สายตะวันตก คาบสมุทรอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนีย และสายสายเหนือ – ใต้ ที่เชื่อมทะเลแดงกับ กรุงดามัสกัสซีเรีย ตัดผ่าน นอกจากนั้นยังมีแหล่งน้ำจืดสำคัญซึ่งต่อมาเรียกกันว่า วาดี มูซา หรือ หุบเขาโมเสส ซึ่งเล่ากันว่าเป็นแหล่งน้ำที่ได้มาจากตอนที่โมเสสเสกเพื่อให้ชาวยิวได้กินแก้กระหาย เหล่าพ่อค้าหรือนักเดินทางที่เดินทางผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้งไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากมุ่งมาที่เมืองเปตราอย่างเดียว โดยมีค่าธรรมเนียมผ่านทางที่เรียกเก็บจากผู้สัญจร ซึ่งทำให้ชาวนาบาเทียนมีชีวิตที่รุ่งเรื่องขึ้น

เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศักราชที่ 70 ถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 (Aretas IV) ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องให้ว่า ฟิโลเดมอส (JOhn remy) แปลว่า ผู้รักประชาชน และด้วยความมั่งคั่ง ความเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกล และชัยภูมิอันยากแก่การพิชิต จึงทำให้เมืองมีโอกาสเจริญเติบโตโดยไม่ต้องกลัวศัตรูจากภายนอก
แต่หลังจากนั้นมีการเกิดเมืองใหม่ รวมถึงเส้นทางค้าขายที่ปลอดภัยและสะดวกกว่า ทำให้เมืองเปตราที่เคยเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าก็เริ่มสูญเสียอำนาจลง ด้วยความอ่อนแอของเมืองจึงถูกชาวต่างชาติเข้ามาโจมตี จนเมื่อถึงปี ค.ศ. 106 จักรพรรดิทราจัน หรือ ไทรอะนุส (Traianus) แห่งโรมันได้บุกเข้ายึดครองเปตราและผนวกนครนี้เข้าเป็นเมืองในจักรวรรดิโรมัน ยาวจนถึง ค.ศ. 300 และในปี ค.ศ. 363 เกิดแผ่นดินไหวขึ้นในบริเวณนั้นทำให้อาคารและระบบชลประทานเสียหายไป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 เปตรากลายเป็นที่ตั้งคริสต์ศาสนาของบิชอปแล้วถูกมุสลิมยึดในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แล้วก็เสื่อมถอยมาเรื่อยๆ จนลบเลือนหายไปจากผู้คน

ถึงแม้มีการพบซากของเมืองเปตราในช่วงยุคกลาง เช่น สุลต่านของอียิปต์ ไบบารส์ (Sultan Baibars) เดินทางเข้าไปเยี่ยมชมในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่การค้นพบที่นำไปสู่การเปิดเผยต่อสายตาชาวโลกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1812 โดยโยฮันน์ ลุควิก บวร์กฮาร์ท (Johann Ludwig Burckhardt) นักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งกำลังเดินทางจากจอร์แดนไปอียิปต์เพื่อไปศึกษาถึงแหล่งที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ เขาได้เห็นความใหญ่โตของเมืองแห่งนี้ และได้แอบบันทึกย่อระหว่างอูฐเดินผ่าน เนื่องจากผู้นำท้องถิ่นสั่งห้ามไม่ให้เขาเข้าไปทำอะไรที่นั่น
Petra

ต่อมาในปี ค.ศ. 1826 เลออง เดอ ลาบอร์ด (Leon de Laborde) ชาวฝรั่งเศสเดินเข้าไปสำรวจและกลับมาเขียนหนังสือชื่อ Voyage de l’Arabie Pétrée แปลว่า การเดินทางในเปตราแห่งอาหรับ ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1830 ซึ่งการเขียนหนังสือครั้งนี้ถือเป็นการนำภาพและความรู้ต่างๆ ที่ชาวโลก ไม่เคยเห็นมาเปิดเผยให้ได้รับรู้

เปตราถูกสำรวจทางโบราณคดีตั้งแต่ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน ได้รับลงทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยกล่าวอธิบายไว้ว่า “เป็นหนึ่งในสิ่งที่ล้ำค่ามากที่สุดของมรดกทาง วัฒนธรรมแห่งมวลมนุษยชาติ” (one of the most precious cultural properties of man’s cultural heritage) และได้กลายเป็น 1 ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ของโลก จากการลงคะแนนคนทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ต เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เปตราได้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้คนเข้าไปเยี่ยมเยียนมากมาย โดยจะเดินผ่านร่องหินเขาหรือจะนั่งรถม้าเข้าไปก็ได้

รายการบล็อกของฉัน